Sports News

ปังหรือพัง ประกันรายได้สินค้าเกษตร ปี 4 ใช้งบแล้วเท่าไร

0 0
Read Time:2 Minute, 51 Second

หนึ่งในนโยบายดูแลเศรษฐกิจของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลมากสุด นอกจากบัตรคนจนแล้ว อีกโครงการที่ใช้เงินสูงไม่แพ้กันก็คือ โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร ซึ่งล่าสุดโครงการก้าวสู่ปีที่ 4 แล้ว โดย ทีมเศรษฐกิจ เดลินิวส์ จะพาไปดูกันว่า ในปีนี้โครงการประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน และต้องใช้เงินมากมายจนรัฐบาลต้องวิ่งวุ่นหาเงินมาใช้จ่ายเหมือนปีที่แล้ว หรือไม่ 

สำหรับการดำเนินงานโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร ปี 4 มีสินค้าเกษตรทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ตัวเลขล่าสุดถึงกลางเดือน พ.ค. 66 ที่ผ่านมา มีการใช้งบประมาณ 8,149 ล้านบาท น้อยกว่างบที่ประมาณการณ์ไว้ 33,357 ล้านบาท ถึง 25,200 ล้านบาท โดยจำแนก ดังนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

  • ข้าว ตั้งงบไว้ 18,700 ล้านบาท ใช้งบไป 7,866 ล้านบาท น้อยกว่าแผน 1 หมื่นล้าน
  • มันสำปะหลัง ตั้งไว้ 3,164 ล้านบาท ไม่ได้ใช้งบ เพราะราคาตลาดสูงกว่าประกัน
  • ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตั้งไว้ 716 ล้านบาท ไม่ได้ใช้งบ เพราะราคาตลาดสูงกว่าประกัน
  • ปาล์มน้ำมัน ตั้งไว้ 3,133 ล้านบาท ไม่ได้ใช้งบ เพราะราคาตลาดสูงกว่าประกัน
  • ยางพาราตั้งงบไป 7,643 ล้านบาท ใช้ไป 282 ล้านบาท แต่โครงการยังไม่สิ้นสุด

นายอุดม ศรีสมทรง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เผยว่า การดำเนินโครงการประกันรายได้สินค้าเกษตรช่วงที่ผ่านมา สามารถช่วยยกระดับราคาสินค้าเกษตรให้ดีขึ้น โดยเฉพาะปีที่ 4 ประสบความสำเร็จสูงสุด เพราะสินค้าราคาดี และรัฐบาลจ่ายเงินชดเชยรายได้น้อยที่สุด โดยมันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน รัฐไม่ต้องชดเชยแม้แต่บาทเดียว ขณะที่ข้าว ตอนนี้จ่ายประกันแล้ว 32 งวด จากทั้งหมด 33 งวด คาดจะใช้เงิน 7,800 ล้านบาท น้อยกว่างบที่ตั้งไว้ 18,000 ล้านบาท ส่วนประกันรายได้ยางพารา คาดจะใช้เงินชดเชยตามกรอบที่ 7,600 ล้านบาท คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

“ราคาพืชผลส่วนใหญ่ปีนี้อยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้รัฐไม่ต้องชดเชย เช่น ปาล์มน้ำมัน ล่าสุดอยู่ที่ กก. 5.30-5.80 บาท สูงกว่าราคาประกันที่ 4 บาท ขณะที่ราคามันสำปะหลัง เชื้อแป้ง 25% เฉลี่ย กก.3.35-3.90 บาท สูงกว่าราคาประกันที่ 2.50 บาท และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย กก. 11-12 บาท สูงกว่าราคาประกันรายได้ที่ 8.50 บาท ขณะที่ราคาข้าว ส่วนใหญ่ใกล้เคียง หรือสูงกว่าราคาประกันรายได้ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ราคาตลาดตันละ 9,800-10,300 บาท เทียบกับราคาประกัน 10,000 บาท ข้าวเปลือกเหนียว 12,500-13,400 บาท สูงกว่าราคาประกัน 12,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลิ 14,400-14,800 บาท ใกล้ราคาประกัน 15,000 บาท”

สาเหตุที่ทำให้ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้ เนื่องจากมีความต้องการจากตลาดโลกสูง ส่งผลให้ไทยส่งออกเพิ่มขึ้น อีกทั้งราคาตลาดโลกยังดี ทำให้ราคาผลผลิตในประเทศปรับขึ้นตาม และคาดหลังจากนี้ราคายังทรงตัวระดับสูงต่อไป แต่ต่อไปหากรัฐบาลไม่มีการโครงการประกันรายได้ กระทรวงพาณิชย์ก็มีมาตรการเพื่อช่วยพยุงราคา เช่น สนับสนุนให้เกษตรกร และวิสาหกิจ ชะลอการนำผลผลิตออกมาจำหน่ายในช่วงที่ผลผลิตออกมาก รวมถึงผลักดันการส่งออกช่วงที่ราคาตลาดโลกปรับเพิ่ม ตลอดจนการให้เอกชนเข้าไปช่วยซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยตรง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %